ไขคำตอบ สาย PV คืออะไร ต่างจากสายไฟชนิดอื่นอย่างไร

ชนิดของสายไฟฟ้าหลัก ๆ มีทั้งหมดกี่ชนิด และทำไมสาย PV จึงแตกต่างจากสายไฟทั่ว ๆ ไป

สายไฟ PV Link


หากจะพูดถึงการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้าน อาคาร สำนักงาน ฯลฯ อุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่จะช่วยส่งกระแสไฟฟ้าไปยังจุดต่าง ๆ คือ สายไฟ บางคนที่ไม่ทราบมักจะคิดว่าสายไฟมันก็เหมือน ๆ กันทั้งนั้น เลยเลือกซื้อสายไฟมาผิดประเภท ซึ่งการเลือกใช้สายไฟผิดประเภท เสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ และเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การเลือกใช้สายไฟให้เหมาะกับงานนั้น อาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับคนทั่วๆ ไป แนะนำว่า หากต้องการเปลี่ยนสายไฟ หรือติดตั้งระบบไฟฟ้าต่าง ๆ ควรขอคำแนะนำจากช่างผู้ชำนาญในการเลือกซื้อสายไฟ และติดตั้งระบบไฟต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

มาดูกันว่า ชนิดของสายไฟฟ้าหลัก ๆ มีทั้งหมดกี่ชนิด แต่ละชนิดเหมาะกับการนำไปใช้งานประเภทไหน และเราจะมาเจาะลึกถึงคำตอบว่าทำไมสาย PV จึงมีความแตกต่างกับสายไฟฟ้าธรรมดาทั่วไป

สาย PV คืออะไร

สายเคเบิล PV หรือที่เรียกกันว่า สายเคเบิลไฟฟ้าโซล่าเซลล์ คือ สายไฟที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉพาะ สาย PV มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อกับแผงโซล่าเซลล์กับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ระบบอินเวอร์เตอร์ ตัวควบคุมการชาร์จ ซึ่งสาย PV มีคุณสมบัติอื่น ๆ อีกมากมายที่ทำให้มันแตกต่างจากสายไฟทั่วไป ก่อนที่จะไปเปรียบเทียบให้เห็นเป็นข้อ ๆ เราไปทำความรู้จักสายไฟแต่ละชนิดกันก่อน

  • สาย THW - สายไฟร้อยท่อ เหมาะสำหรับบ้านและอาคารทั่วไป สายไฟสำหรับเป็นสายเมนเดินลอยในอากาศ
  • สาย THW-A - สายไฟร้อยท่อเหมือนชนิดแรก แต่ชนิดนี้จะเหมาะกับงานภายนอกอาคาร
  • สาย NYY - สายไฟสำหรับสายเมน สายไฟสนาม สายไฟถนน สายไฟสำหรับวางบนรางเคเบิล หรือร้อยท่อฝังดิน
  • สายไฟ CV - เป็นสายสำหรับสายเมน สายไฟวางบนรางเคเบิลภายนอกอาคาร ร้อยท่อ หรือฝังดิน
  • สายไฟ PdfireTec (FRC) - สายทนไฟสำหรับวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต วงจรไฟฉุกเฉิน
  • สาย VAF - สายไฟสำหรับเดินเกาะผนังในบ้านและอาคารทั่วไป
  • สาย Station wire - สายโทรศัพท์ในอาคาร
  • สาย VCT - สายไฟสำหรับต่อเข้ามอเตอร์ เครื่องจักร และอุปกรณ์ไฟฟ้า
  • สาย PV - สายไฟสำหรับโซล่าเซลล์โดยเฉพาะ

ถึงแม้ว่าสายไฟทั่วไปจะใช้งานได้หลากหลาย แต่คุณสมบัติของสายไฟทั่วไปนั้น อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะกับการนำไปใช้งานกับระบบโซล่าเซลล์ เรามาไขคำตอบถึงความแตกต่างระหว่างสาย PV และสายไฟทั่วไป

ความแตกต่างระหว่างสาย PV และสายไฟทั่วไป

  1. ตัวนำไฟฟ้า
    • สาย PV
      สาย PV จะใช้ตัวนำที่เป็นทองเเดงเคลือบดีบุกในการนำไฟฟ้ากำลังสูง การชุบดีบุกเป็นการเคลือบเส้นทองแดง ช่วยป้องกันการกัดกร่อนและเพิ่มความสามารถในการบัดกรี ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดออกซิเดชัน สาย PV มีอายุการใช้งานยาวนาน ทนทานทุกสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นความชื้นจากฝนหรือความร้อนจากแสงแดด

    • สายไฟทั่วไป
      สำหรับสายไฟทั่วไป ตัวนำไฟฟ้าจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ ตัวนำที่เป็นทองแดง หรือตัวนำที่เป็นอะลูมิเนียม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน และงบประมาณ ซึ่งแน่นอนว่า ตัวนำทองแดงมีความสามารถนำส่งไฟฟ้าได้ดีกว่า แต่ก็จะมีราคาที่แพงกว่าตัวนำที่เป็นอะลูมิเนียม

  2. ในแง่ของฉนวนไฟฟ้า
    • สาย PV จะใช้วัสดุที่เป็น โพลีเอทิลีนแบบเชื่อมขวาง (XLPE) หรือเอทิลีนโพรพิลีน (EPR) วัสดุทั้ง 2 อย่างมีความโดดเด่นในเรื่องความทนต่อความร้อน รังสียูวี และสภาพอากาศ ทำให้เหมาะกับการนำไปใช้งานในระบบโซล่าเซลล์

    • สายไฟทั่วไป วัสดุที่นำมาทำฉนวนอาจมีให้เลือกหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปใช้งานอะไร เช่น พีวีซี ยาง หรือสารประกอบเทอร์โมพลาสติก ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดนั้นมีคุณสมบัติในการใช้งานต่างกัน รวมถึงวัสดุแต่ละชนิดก็ทนต่อสภาพอากาศได้แตกต่างกันด้วย

  3. กำลังการผลิต ความสามารถในการรองรับกระแสไฟฟ้า การนำส่งกระแสไฟโดยไม่ให้เกิดความร้อนหรือแรงดันไฟฟ้าตกมากจนเกินไป
    • สาย PV - ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้กับระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉพาะ สามารถรองรับกำลังไฟฟ้ากำลังสูงได้

    • สายไฟทั่วไป - สายไฟทั่วไปสามารถรองรับกระแสไฟฟ้าได้หลากหลาย ความสามารถในการรองรับกระแสไฟฟ้านั้น ขึ้นอยู่กับวัสดุที่เป็นตัวนำ ประเภทของฉนวน และข้อจำกัดในการติดตั้ง การจะเลือกใช้สายไฟทั่วไป จึงจำเป็นที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

  4. พิกัดแรงดันไฟฟ้า
    • สาย PV - เป็นสายไฟที่ใช้สำหรับไฟ DC (กระแสตรง) ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบโซล่าเซลล์โดยเฉพาะ เรียกว่า PV1-F เป็นสายทองแดงเคลือบดีบุก แล้วหุ้มด้วยฉนวนอีก 2 ชั้น สามารถทนความร้อนได้ไม่น้อยกว่า 80 องศาเซลเซียส โดยทั่วไป สายไฟ PV Link นี้จะมีพิกัดแรงดันไฟฟ้าที่ 600V หรือ 1,000V ซึ่งสาย PV นี้จะช่วยนำส่งพลังงานที่ผลิตจากแผงโซล่าเซลล์ไปยังส่วนต่างๆ ของระบบได้อย่างปลอดภัย

    • สายไฟทั่วไป - เป็นสายไฟที่รองรับไฟฟ้าได้ทั้งกระแสตรง (DC) และไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับก็คือไฟฟ้าที่เราใช้กันในอาคาร หรือตามบ้าน ส่วนไฟฟ้ากระแสตรงมักจะถูกใช้งานกับแรงดันไฟฟ้าต่ำ ซึ่งอัตราสำหรับแรงดันไฟฟ้าของสายไฟทั่วไปนี้ จะขึ้นอยู่กับรหัสไฟฟ้า ข้อบังคับ และการติดตั้ง

  5. ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม
    • สาย PV - ทนต่อทุกสภาพอากาศ ไม่ว่าจะแดด ฝน ลมพายุ ความผันแปรของสภาพอากาศ เพราะวัสดุที่นำมาใช้ทำเป็นฉนวน สาย PV จึงปลอดภัยและมีความคุ้มค่า
    • สายไฟทั่วไป - ข้อจำกัดของสายไฟทั่วไป คือ เมื่อใช้งานนอกอาคาร หรือต้องอยู่ในสภาพอากาศที่รุนแรงและแปรปรวน สายไฟทั่วไปอาจทนทานไม่เท่ากับสาย PV

  6. ความปลอดภัยจากอัคคีภัย
    • สาย PV - สาย PV ได้รับการออกแบบให้มีคุณสมบัติทนต่อไฟ สาย PV มีคุณสมบัติไม่ลามไฟ ทำให้มีความปลอดภัยในการนำมาใช้งานกับงานระบบโซล่าเซลล์
    • สายไฟทั่วไป - ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาทำฉนวน วัสดุแต่ละชนิดจะมีระดับการทนต่อไปที่ต่างกัน ก่อนการติดตั้ง ควรศึกษาข้อจำกัด และมาตรฐานด้านความปลอดภัยให้แน่ใจก่อนการติดตั้ง และควรเลือกสายไฟที่มีวัสดุฉนวนให้เหมาะกับประเภทของงาน

  7. การติดตั้ง
    • สาย PV - สาย PV ติดตั้งง่าย เหมาะกับการใช้งานกับระบบโซล่าเซลล์ สาย PV บางชนิดจะมีการทำเครื่องหมาย เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการติดตั้ง หรืออาจมีขั้วต่อเฉพาะที่ออกแบบมาเพื่อการเชื่อมต่อกับแผงโซล่าเซลล์ อินเวอร์เตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบอย่างง่ายดาย
      สายไฟทั่วไป - มีความหลากหลายในการใช้งานมากกว่า แต่ก่อนติดตั้งอาจต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น ติดตั้งภายในหรือภายนอกอาคาร เพราะวัสดุสำหรับใช้ภายในและภายนอกอาคารนั้นแตกต่างกัน

 

เมื่อนำมาเปรียบเทียบให้เห็นเป็นข้อ ๆ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า สายไฟ PV Link เหมาะกับการนำไปในงานในระบบโซล่าเซลล์ เป็นความแตกต่างอย่างชัดเจนที่สายไฟทั่วไปอาจไม่เหมาะกับระบบพลังงานแสงอาทิตย์

 

และไม่ว่าคุณจะกำลังมองหา อุปกรณ์โซล่าเซลล์ หาร้านขายอุปกรณ์โซล่าเซลล์ สายไฟโซล่าเซลล์ สายไฟ PV Link อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น ปลั๊กช้าง ปลั๊กกราวด์คู่ช้าง ปลั๊กพานาโซนิค เต้ารับพานาโซนิค โคมไฟ LED ถนน สปอต์ไลท์ LED สายไฟ United ตู้คอนซูมเมอร์ ตู้ไฟ Schneider หรือต้องการปรึกษาเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าต่าง ๆ ปรึกษา บริษัท ไทยอิเล็คทริคเวิร์ค ตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี เราได้รับความไว้วางใจทั้งจากลูกค้า และแบรนด์สินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้าชั้นนำต่าง ๆ มีทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำแนะนำและบริการอย่างมืออาชีพ

 

Visitors: 673,131